งานวิจัย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา : การปลูกยางพารา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน


การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา : การปลูกยางพารา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพและความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรการปลูกยางพาราของสถานศึกษาและชุมชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2) พัฒนาหลักสูตร 3) ศึกษาผลการใช้ทั้งประสิทธิภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการทางาน คุณลักษณะที่ดีในการทางาน และเจตคติต่อการเรียนของนักเรียน และ 4) ศึกษาความเป็นไปได้ในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง การปลูกยางพารา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใน 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนนิคม น้าอูนเจริญวิทยา จังหวัดสกลนคร โรงเรียนชุมชนบ้านพุ่มแก โรงเรียนอุดมพัฒนศืกษา และโรงเรียนบ้านนาโพธิ์ จังหวัดนครพนม ภาคเรียนที่ 2/2553 และ ภาคเรียนที่ 1/2555 จานวน 115 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หลักสูตรสถานศึกษา เรื่อง การปลูกยางพารา แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการทางาน แบบวัดคุณลักษณะที่ดีในการทางาน และแบบวัดเจตคติต่อการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples t–test)

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
ครุศาสตร์
การวิจัยและพัฒนาการศึกษา
สาขาการศึกษา
การศึกษาและสร้างสรรค์การเรียนรู้
หลักสูตรสถานศึกษา การปลูกยางพารา

เจ้าของผลงาน
เพลินพิศ ธรรมรัตน์
ถาดทอง ปานศุภวัชร,พจมาน ชำนาญกิจ

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
เพลินพิศ ธรรมรัตน์ ,ถาดทอง ปานศุภวัชร เเละ พจมาน ชำนาญกิจ . (2559). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา : การปลูกยางพารา ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.