งานวิจัย การวิเคราะห์ค่าพลังงานไฟฟ้าจากการติดตั้งชุดระบายความร้อนให้กับคอนเดนเซอร์ของเครื่องปรับอากาศณหอประชุมมหาวชิราลงกรณ


การวิเคราะห์ค่าพลังงานไฟฟ้าจากการติดตั้งชุดระบายความร้อนให้กับคอนเดนเซอร์ของเครื่องปรับอากาศณหอประชุมมหาวชิราลงกรณ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ค่าความประหยัดด้านพลังงานไฟฟ้า จากการติดตั้งอุปกรณ์ระบายความร้อนให้กับเครื่องปรับอากาศ ซึ่งได้เปรียบเทียบระดับการใช้พลังงานก่อนและหลังติดตั้งอุปกรณ์ โดยมีระบบน้ำเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ดำเนินการศึกษาเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558 โดยใช้การทดสอบกับเครื่องปรับอากาศขนาด 541,000 Btu (ประมาณ 45 ton) จำนวน 6 ชุด รวมทั้งสิ้น 3,246,000 Btu (ประมาณ 270 ton) เวลาในการทดสอบ 30 min ซึ่งการทดสอบเกิดขึ้น 2 ช่วง คือช่วงที่ 1 เวลา 11.30-12.00 น. ช่วงที่ 2 เวลา 14.20-14.50 น. และหลังจากการทดสอบได้วิเคราะห์ผลประหยัดด้านพลังงานไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางจัดทำมาตรการอนุรักษ์พลังงานของมหาวิทยาลัย จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า หลังจากการติดตั้งอุปกรณ์ระบายความร้อนให้กับเครื่องปรับอากาศ โดยที่มีน้ำเป็นตัวแปรหลักในการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของเครื่องระบายความร้อน (Condenser) ทำให้อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็วและส่งผลให้คอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลง ซึ่งส่งผลให้ระดับการใช้พลังงานไฟฟ้าลดลงไปด้วย คิดเป็นร้อยละดังนี้ กระแสไฟฟ้าใช้งานลดลงคิดเป็นร้อยละ 15.26, ฮาร์มอนิค ร้อยละ 7.05 และ พลังงานไฟฟ้า/ชั่วโมง ร้อยละ 22.45 ส่วนผลประหยัดที่เกิดขึ้นต่อปี มีค่าเท่ากับ 102,435.80 บาท/ปี และมีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 0.1 ปี หรือ 36 วัน

ทุนวิจัย R to R
สำนักงานอธิการบดี
-
-
-
-

เจ้าของผลงาน
ประกายแก้ว บุตราช
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ประกายแก้ว บุตราช . (2558). การวิเคราะห์ค่าพลังงานไฟฟ้าจากการติดตั้งชุดระบายความร้อนให้กับคอนเดนเซอร์ของเครื่องปรับอากาศณหอประชุมมหาวชิราลงกรณ. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.