งานวิจัย ลักษณะเฉพาะของสารประกอบเลดไอรอนไนโอเบต-เลดไททาเนตเจือปนด้วยซิงค์ออกไซด์วัสดุเฟร์โรอิเล็กทริก


ลักษณะเฉพาะของสารประกอบเลดไอรอนไนโอเบต-เลดไททาเนตเจือปนด้วยซิงค์ออกไซด์วัสดุเฟร์โรอิเล็กทริก

งานวิจัยนี้ได้ดาเนินการสังเคราะห์วัสดุรีแลกเซอร์รเซรามิกส์เลดไอรอนไนโอเบต-เลดไททาเนต [(1 – x)Pb(Fe1/2 Nb1/2)O3-xPbTiO3, PFN-PT] เจือด้วยซิงค์ออกไซด์ (ZnO) ร้อยละ 0, 1, 2, 3 โดยน้ำหนัก (x = 0.06, 0.08, 0.1) ด้วยวิธีการเตรียมแบบโคลัมไบท์ (columbite method) และทำการเผาผนึกสองขั้นตอน ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดโครงสร้างเพอรอฟสไกต์ ได้แก่ ขนาดอนุภาค ขั้นตอนในการผสม อุณหภูมิที่ใช้ในการเผาผนึก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อ โครงสร้างเพอรอฟสไกต์เกิดความเสถึยรมากขึ้น อย่างไรก็ตามเซรามิกส์รีแลกเซอร์ชนิด PFN-PT มีความ เสถียรในการเกิด โครงสร้างเพอรอฟสไกต์ต่า ดังนั้นเพื่อให้มีโครงสร้างแบบเพอรอฟสไกต์มากที่สุดจำเป็นต้องเติมสารที่ช่วยทำให้เกิดเสถียรมากขึ้น ซึ่งในที่นี้การเจือ Zn เป็นจำนวนร้อยละ 0, 1, 2 และ 3 โดยน้ำหนัก ซึ่งทำให้เกิดการเลื่อนของพีคพร้อมทั้งปรับเปลี่ยนโครงสร้างแบบคิวบิคเทียมไปเป็นเททระโกนอลมากขึ้น การเพิ่มปริมาณการเจือ Zn ลงในเซรามิกส์ PFN-PT ทำให้คริสตัลไลต์ไซต์มีขนาดเพิ่มขึ้น และจะแสดงโครงสร้างเททระโกนอลแบบเพอรอฟสไกต์เพิ่มขึ้น การเจือ Zn ร้อยละ 3 โดยน้าหนัก ช่วยลดเฟสไพโรคลอได้มากที่สุด นอกจากนี้ทำให้ความหนาแน่นสัมพัทธ์ลดลง ในขณะที่ค่าความแข็งแบบวิคเกอร์มีค่าเพิ่มขึ้น

ทุนวิจัยงบรายได้
สถาบันวิจัยและพัฒนา
-
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
เทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมด้านวัสดุนาโนและนาโนเทคโนโลยี
รีแลกเซอร์, เฟร์โรอิเล็กทริก, ไอรอนไนโอเบต-เลดไททาเนต, ซิงค์ออกไซด์, เพอรอฟสไกต์

เจ้าของผลงาน
หรรษกร วรรธนะสาร
สันติ ผิวผ่อง

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
หรรษกร วรรธนะสาร เเละ สันติ ผิวผ่อง . (2558). ลักษณะเฉพาะของสารประกอบเลดไอรอนไนโอเบต-เลดไททาเนตเจือปนด้วยซิงค์ออกไซด์วัสดุเฟร์โรอิเล็กทริก. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.