งานวิจัย การพัฒนาผู้สูงอายุต้นแบบเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภัยสุขภาพจากฝุ่นละออง


การพัฒนาผู้สูงอายุต้นแบบเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภัยสุขภาพจากฝุ่นละออง

งานวิจัยนี้ได้ทําการสร้างแบบจําลองฝุ่น PM2.5 สําหรับการพัฒนาผู้สูงอายุตันแบบเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภัย สุขภาพจากฝุ่นละออง โดยใช้การผสมผสานระหว่างข้อมูลภาคพื้นดินและข้อมูลดาวเทียม ตัวแปรที่ใชประกอบไป ด้วย ความลึกเชิงแสงของฝุ่นละออง (AOD) ดัชนีพืชผลต่างปกติ (NDVI) และข้อมูลความสูงของชั้นขอบเขต (BLH) และตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยา โดยใช้สมการเชิงเส้นแบบผสม (LME) ในปี 2020 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ามีค่าสัมประสิทธิ์โดยรวม (R2)=0.81 และค่าความคลาดเคลื่อนกําลังสองเฉลี่ยราก (RMSE) ที่ 10.44 μg /m3 ค่า (R2)0.81 โดยมีค่า R2 สูงในจังหวัดสุรินทร์ (R2=0.93) และค่าต่ําในจังหวัดศรีสะเกษ (R2=0.73) ดังนั้น การ เปรียบเทียบระหว่างความเข้มข้นที่ได้จากการวัดและแบบจําลอง ชี้ให้เห็นว่าข้อมูล MODIS เป็นตัวทํานายความ เข้มข้นของ PM2.5 ได้ จากนั้นนําข้อมูล PM2.5 ที่ได้จากแบบจําลองไปพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุตัน แบบเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภัยสุขภาพจากฝุ่นละออง การพัฒนาผู้สูงอายุตันแบบเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภัย สุขภาพจากฝุ่นละอองโดยใช้กระบวนการเสริมสร้างตามแนวคิดพฤติกรรมตามแผน ครอบคลุม ความเชื่อต่อ พฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มต้นแบบ ความเชื่อในความสามารถปฏิบัติ พบว่า ค่าเฉลี่ยความสามารถปฏิบัติเพื่อ เฝ้าระวังและป้องกันภัยสุขภาพจากฝุ่นละอองของต้นแบบผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ (p<0.001) ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ความสามารถในการเป็นต้นแบบของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ค่าเฉลี่ยหลังการเข้าร่วมโปรแกรมเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.001) ที่ ระดับนัยสําคัญ 0.05 ความพึงพอใจของประชาชนต่อผู้สูงอายุต้นแบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 1.91 (SD = 0.29)

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์
-
-
-

เจ้าของผลงาน
รศ.ดร.วิลาวรรณ์ คำหาญ
ดร.ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม, อาจารย์ศุภมิตร บุญทา

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
รศ.ดร.วิลาวรรณ์ คำหาญ ,ดร.ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม เเละ อาจารย์ศุภมิตร บุญทา . (2565). การพัฒนาผู้สูงอายุต้นแบบเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภัยสุขภาพจากฝุ่นละออง. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.