งานวิจัย การพัฒนาฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และแบบจำลองถดถอยแบบถ่วงน้ำหนักภูมิศาสตร์ของพยาธิใบไม้ตับเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของหน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอ จังหวัดสกลนคร


การพัฒนาฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และแบบจำลองถดถอยแบบถ่วงน้ำหนักภูมิศาสตร์ของพยาธิใบไม้ตับเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของหน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอ จังหวัดสกลนคร

การพัฒนาแบบจ้าลองถดถอยแบบถ่วงน้ำหนักภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะเชิงพื้นที่ของการติดเชื้อพยาธิ ใบไม้ตับมีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงพื้นที่ที่สัมพันธ์ต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในคน (Opisthorchis viverrini) ตามขอบเขตลุ่มน้ำย่อยและ 2. เพื่อสร้างแบบจ้าลองถดถอยแบบถ่วงน้ำหนักภูมิศาสตร์สำหรับเพิ่ม ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสาธารณสุขในการด้านป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงในการติดพยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis viverrini) ในคนได้ โดยผลศึกษาพบว่าค่าสหสัมพันธ์ที่มีผลด้านบวกต่อโอกาสการติดพยาธิใบไม้ตับ ได้แก่ ปัจจัย X6 (Surface temperature), X7 (NDMI) และ X9 (SAVI) ซึ่งมีค่าสหสัมพันธ์ตั้งแต่ระดับ 0.082 ถึง 0.395 ค่าใกล้ 1 คือมีความสัมพันธ์มาก ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ด้านลบได้แก่ ปัจจัยดัชนี X5 (Stream) ระยะห่าง จากเส้นการไหลสะสมของน้ำ และดัชนี X8(SAVI) ค่าเฉลี่ยดัชนีสะท้อนดินปรับแก้ ซึ่งมีค่าสหสัมพันธ์ตั้งแต่ระดับ - 0.226 ถึง 0.079 ในการสร้างแบบจ้าลองถดถอยแบบถ่วงน น้ำหนักภูมิศาสตร์ ผลการของแบบจ้าลองที่สามารถ อธิบายความสัมพันธ์กับร้อยละการเกิดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับที่ให้ค่า R2 สูงได้แก่แบบจ้าลอง Yov= -59.41- 0.039(X5) + 21.21(X6) + 7.23(X7) - 3752.16(X8) + 1503.27(X9), R2 = 0.646 ผลการวิจัยท้าให้หน่วยงาน สาธารณสุขอำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องไปใช้เฝ้าสังเกตการณ์ความเปลี่ยนแปลงเพื่อ ใช้เป็นแนวทางในการติดตามการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับได้ในอนาคต

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
เทคโนโลยีการเกษตร
เทคนิคการสัตวแพทย์
-
-
พยาธิใบไม้ตับ, แบบจำลองถดถอยแบบถ่วงน้ำหนักภูมิศาสตร์, ฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, สำนักงานสาธารณสุข

เจ้าของผลงาน
อาจารย์เบญจมาภรณ์ พุ่มหิรัญโรจน์
อาจารย์กนกวรรณ บุตรโยธี

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อาจารย์เบญจมาภรณ์ พุ่มหิรัญโรจน์ เเละ อาจารย์กนกวรรณ บุตรโยธี . (2566). การพัฒนาฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และแบบจำลองถดถอยแบบถ่วงน้ำหนักภูมิศาสตร์ของพยาธิใบไม้ตับเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของหน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอ จังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.