งานวิจัย การเพิ่มมูลค่าและยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ บ้านดงอีด่อย อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร


การเพิ่มมูลค่าและยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ บ้านดงอีด่อย อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์แฟชั่นผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของกลุ่มทอผ้าบ้านดง อีด่อย จากมุมมองของผู้บริโภคเพื่อส่งเสริมการขาย 2) เพื่อพัฒนาลวดลายผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือที่เป็น เอกลักษณ์ของบ้านดงอีด่อย 3) เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านดงอีด่อย 4) เพื่อศึกษาสภาวการณ์และความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบการชุมชน ผ้าทอมือ บ้านดง อีด่อย 5) เพื่อพัฒนารูปแบบและกำหนดแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการผ้าทอมือ บ้านดงอีด่อย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ กลุ่มอาชีพผ้าทอมือบ้านดงอีด่อย จำนวน 50 คน เลือกทั้งหมดมาเป็นกลุ่ม ตัวอย่าง ผู้ประกอบการกลุ่มอาชีพผ้าทอมือ บ้านดงอีด่อยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 100 คน และกลุ่ม นักท่องเที่ยวหรือผู้บริโภคที่สนใจในผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือและยินดีให้ข้อมูลในช่วงระยะเวลาการเก็บข้อมูล ออนไลน์และออฟไลน์ จำนวน 298 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไควสแควร์ การทดสอบที การทดสอบเอฟ ผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มเสื้อผ้าที่ผู้บริโภคคิดว่าน่าจะมีโอกาสซื้อมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ชุด เดรส ชุดลำลองทั่ว ๆ ไป และชุดสูทพร้อมกางเกง โดยผู้บริโภคให้ราคาขายเฉลี่ยไว้ ชุดเดรส 788 บาท ชุด ลำลอง 376 บาท และชุดสูทพร้อมกางเกง 1,193 บาท นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคยังมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแฟชั่นผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ 1) ควรมีผลิตภัณฑ์ ที่หลากหลาย ลวดลายใหม่ๆ เหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย 2) ควรมีผลิตภัณฑ์ที่ราคาไม่แพง เพื่อให้ผู้บริโภค สามารถเข้าถึงได้หรือซื้อได้ง่าย 3) ควรพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่หลากหลายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ผ้าถุงลวดลายใหม่ หรือผ้าหุ้มเบาะรถ เป็นต้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยพบว่าได้มีการพัฒนาลวดลายผ้าทอมืออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบ ดั้งเดิมผสมผสานกับลวดลายทางเรขาคณิตเกิดเป็นลวดลายเอกลักษณ์ของกลุ่มและผลการสำรวจความพึง พอใจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีอาชีพเป็นข้าราชการ/ พนักงานรัฐ มีความพึงพอใจต่อผ้าทอลายลายดงอีด่อยและลายดอกยางนา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.63 ความพึง พอใจอยู่ในระดับมาก เนื้อผ้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.77 ความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง สีผ้าและลวดลายมี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 35.8 ความพึงพอใจระดับปานกลาง และภาพรวมของผ้าทอลายลายดงอีด่อยและลายดอก ยางนามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.60 ความพึงพอใจระดับมาก ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนผ้าทอมือต่อผืน(1ผืนเท่ากับ 2เมตร)พบว่าต้นทุนด้าน วัตถุดิบ 187.50 บาท ต้นทุนด้านแรงงานทางตรงต่อผืน 280 บาท ต้นทุนด้านการผลิตต่อผืน 15 บาท ดังนั้น ต้นทุนรวมทั้งหมดต่อผืน 472.50 บาท ราคาขายเพื่อให้ได้กำไร ณ จุดคุ้มทุน คือ 600 บาท จากการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหา ความพร้อม และความต้องการ เพื่อให้ได้แนวทางการพัฒนา ศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและโอกาสทางการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าทอ มือ สามารถสรุปได้ว่ากลุ่มผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความพร้อมในการใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าโดยใช้ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตหรือสื่อสังคมออนไลน์เนื่องจากมีการใช้สมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร อยู่ในระดับมาก ในขณะที่การจำหน่ายโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตหรือสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เว็บไซต์หรือ Facebook ยังอยู่ในระดับน้อยที่สุด

ทุนวิจัยงบรายได้
วิทยาการจัดการ
บริหารธุรกิจ(แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
คราม
ผ้าทอมือ แฟชั่น พัฒนาลวดลาย เอกลักษณ์ ต้นทุน ช่องทางการจัดจำหน่าย โอกาสทาง การตลาด

เจ้าของผลงาน
ศุภมิตร บุญทา
นาฎลดา เรืองชาญ, จินตนา จันทนนท์, ชนัญกาญจน์ แสงประสาน, กาญจนาภรณ์ นิลจินดา, ชฎาพร แนบชิด, สุวิมล บุญทา

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ศุภมิตร บุญทา ,นาฎลดา เรืองชาญ, จินตนา จันทนนท์, ชนัญกาญจน์ แสงประสาน, กาญจนาภรณ์ นิลจินดา, ชฎาพร แนบชิด เเละ สุวิมล บุญทา . (2564). การเพิ่มมูลค่าและยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ บ้านดงอีด่อย อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.