งานวิจัย การพัฒนานวัตกรรมสื่อการสอน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่อง ไบโอดีเซล โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสตรีมศึกษา


การพัฒนานวัตกรรมสื่อการสอน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่อง ไบโอดีเซล โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสตรีมศึกษา

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรม STEM สำหรับนักศึกษาครูเพื่อพัฒนาความเข้าใจการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในเชิงลึกเชื่อมโยงบริบทท้องถิ่น โดยใช้โรงเรียนและชุมชนเป็นฐาน 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรม STEM สำหรับ นักศึกษาครู เพื่อพัฒนาความเข้าใจการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในเชิงลึกเชื่อมโยงบริบทท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนและชุมชนเป็นฐาน 3) เพื่อศึกษาสภาพและพัฒนาทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรม STEM ในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในเชิงลึกบูรณาการเชื่อมโยงบริบทท้องถิ่น โดยใช้โรงเรียนและชุมชนเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายของงานวิจัย คือ นักศึกษาครูชั้นปีที่ 1 จำนวน 58 คน และนักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 23 คน กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลมีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แผนกิจกรรม STEM เชื่อมโยงบริบทท้องถิ่น แบบสอบถามความเข้าใจการจัดการเรียนรู้ STEM เชื่อมโยงบริบทท้องถิ่น ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบทันทึกภาคสนาม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยดังนี้ 1) การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรม STEM สำหรับนักศึกษาครูเพื่อพัฒนาความเข้าใจการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในเชิงลึกเชื่อมโยงบริบทท้องถิ่น ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรม STEM ที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนได้ ในระดับดีมาก 2) นักศึกษาครูกลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจการออกแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรม STEM ในระดับมาก ก่อนเรียนนักศึกษาครูกลุ่มเป้าหมายได้คะแนน ความเข้าใจ คะแนนเฉลี่ย (x ̅)17.28 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) 3.13 ซึ่งแปลผลอยู่ในระดับน้อย หลังเรียนนักศึกษาครูกลุ่มเป้าหมายได้คะแนนความเข้าใจ คะแนนเฉลี่ย(x ̅) 41.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) 3.71 ซึ่งแปลผลอยู่ในระดับมาก 3) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรม STEM บูรณาการองค์ความรู้ท้องถิ่น 3 กิจกรรม ซึ่งสามารถนำไปใช้ลงพื้นที่ในบริบทชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ได้จริง แนวทางการจัดการเรียนรู้จากงานวิจัยนี้เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาครู

ทุนวิจัยงบรายได้
ครุศาสตร์
นวัตกรรมและคอมพิวเตอร์ศึกษา
สาขาการศึกษา
การศึกษาและสร้างสรรค์การเรียนรู้
สะเต็มศึกษา กระบวนการเรียนการสอน การสอนวิทยาศาสตร์ บริบทท้องถิ่น

เจ้าของผลงาน
อัจฉรา ไชยสี ขูรีรัง
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อัจฉรา ไชยสี ขูรีรัง . (2564). การพัฒนานวัตกรรมสื่อการสอน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่อง ไบโอดีเซล โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสตรีมศึกษา. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.