งานวิจัย การสร้างเครื่องอบแห้งด้วยระบบอัลต้าโซนิก


การสร้างเครื่องอบแห้งด้วยระบบอัลต้าโซนิก

อุณหภูมิในการอบแห้งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการคงคุณค่าทางโภชนาการและยืดอายุการเก็บ รักษาผลิตภัณฑ์ประเภทสมุนไพร เครื่องอบแห้งโดยใช้ระบบอัลตร้าโซนิกร่วมกับลมร้อนถูก ประดิษฐ์ให้มีขนาดภายในห้องเครื่องอบ 50 × 50 × 35 cm3 เพื่อใช้เป็นต้นแบบสำหรับลด อุณหภูมิการอบแห้งสมุนไพรแก่นตะวัน เครื่องอบแห้งระบบอัลตร้าโซนิกใช้ที่คลื่นความถี่ 68 kHz, 89 kHz และ 143 kHz ร่วมกับลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 °C และ 60 °C ทำการศึกษาอัตรา การแห้งของแก่นตะวัน และโครงสร้างทางจุลภาคของแก่นตะวันหลังการอบ ส่วนในห้องอบจะ ติดตั้งเซนเซอร์เพื่อตรวจวัดค่าความดัน ค่าความชื้นสัมพัทธ์ และตรวจวัดค่าพลังงานของเคร่อืง อบแห้งเพื่อใช้ประเมินประสิทธิภาพในการอบแห้ง แก่นตะวันมีขนาดความหนา 1 – 2 mm ถูก ทำให้แห้งในช่วงเวลา 320 min จากผลการอบแห้งแก่นตะวันจากเครื่องอบแห้งแสดงให้เห็นว่า เมื่อเพิ่มความถี่สูงขึ้นที่ความถี่ 143 kHz ร่วมกับอุณหภูมิในการอบแห้งที่ 50 °C พบว่าเวลาใน การอบแห้งแก่นตะวันใช้เวลาลดลง เมื่อตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคของแก่นตะวันหลังผ่านการ อบแห้ง พบการใชคลื่นความถี่อัลตร้าโซนิกจะช่วยเสริมโพรงอากาศของแก่นตะวันได้ ทำให้มีการ ดูดซึมน้ำได้ง่ายจึงเหมาะในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทชาสมุนไพรได้ดี และเมื่อ ใช้ความถี่ 89 kHz ร่วมกับความร้อน 60 °C แสดงประสิทธิภาพการอบแห้งได้ดีที่สุดในกลุ่ม ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องอบเมื่อใช้คลื่นอัลตร้าโซนิกจะต่ำกว่าการใช้ลมร้อนเพียงอย่าง เดียว เนื่องจากมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น เครื่องอบแห้งประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ ต้องการอบแห้งภายใต้อุณหภูมิต่ำกว่าปกติ นอกจากนี้เครื่องอบแห้งแสดงให้เห็นว่าการใช้คลื่น อัลตร้าโซนิกทำให้เกิดการแคปติเวชัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นโมเลกุลน้ำออกจากผลิตภัณฑ์ได้เร็วยิ่งขึ้น จะเป็นการช่วยปรับปรุงอัตราการแห้งของผลิตภัณฑ์ได้ดียิ่งขึ้น

ทุนวิจัยงบรายได้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
-
เครื่องอบแห้ง,อัลต้าโซนิก,ลมร้อน,แก่นตะวัน,แคปติเวชัน

เจ้าของผลงาน
อาจารย์ ดร.หรรษกร วรรธนะสาร
ผศ.ก้องภพ ชาอามาตย์

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อาจารย์ ดร.หรรษกร วรรธนะสาร เเละ ผศ.ก้องภพ ชาอามาตย์ . (2563). การสร้างเครื่องอบแห้งด้วยระบบอัลต้าโซนิก. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
งานวิจัยเพิ่มเติม (เจ้าของผลงาน)

สถิติการเข้าชม