งานวิจัย การเปรียบเทียบการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาร์เข็ม จากสูตรคำนวณกับการทดลองด้วยวิธี Dynamic Load test: กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์สารสนเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร


การเปรียบเทียบการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาร์เข็ม จากสูตรคำนวณกับการทดลองด้วยวิธี Dynamic Load test: กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์สารสนเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เปรียบเทียบกำลังการรับน้ำหนักบรรทุกจากสูตร การตอกเสาเข็มกับการทดสอบแบบ Dynamic load test เพื่อหาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการรับน้ำหนักบรรทุกจากสูตรการตอกเสาเข็ม และทำการศึกษา ผลการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มที่ใช้ Factor เท่ากับ 3 จากสูตร Hiley's Formula ทำการตอกเสาเข็มตามสูตร การคำนวณเสร็จแล้วทำ การทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกด้วยวิธี Dynamic load test ตามมาตรฐานการทดสอบ ASTM D 4945-12 และมาตรฐาน มผย.1252-51 ทำการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม CAPWAP ซึ่งให้ค่าการรับน้ำหนัก บรรทุกเท่ากับ 87.95 และ 89.97 ตัน ตามลำดับ แล้วนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าค่าการทรุดตัวของ เสาเข็มมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบการตอกเสาเข็มตามสูตรกับการทดสอบด้วยวิธี Dynamic load test ค่าการทดสอบสูงกว่าถึงร้อยละ 20

ทุนวิจัย R to R
สำนักงานอธิการบดี
-
-
-
น้ำหนักบรรทุกเสาเข็ม, สูตรการคำนวณการตอกเสาเข็ม, การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์

เจ้าของผลงาน
ทรงฤทธิ์ พุทธลา
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ทรงฤทธิ์ พุทธลา . (2562). การเปรียบเทียบการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาร์เข็ม จากสูตรคำนวณกับการทดลองด้วยวิธี Dynamic Load test: กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์สารสนเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.