งานวิจัย การสร้างบล็อกปูพื้นเทอร์โมอิเล็กทริกสำหรับผลิตไฟฟ้า


การสร้างบล็อกปูพื้นเทอร์โมอิเล็กทริกสำหรับผลิตไฟฟ้า

านวิจัยนี้ได้ศึกษา และออกแบบบล็อกปูพื้นเทอร์โมอิเล็กทริกเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ในทางเดินเท้า เกาะกลางถนน และการจัดสวน โดยอาศัยความร้อนจากรังสีดวงอาทิตย์ บล็อกปูพื้นเทอร์โมอิเล็กมีรูปทรง 8 เหลี่ยม มีขนาด 19.8 x 19.8 x 6 เซนติเมตร ประกอบด้วย ชั้นบนจะได้รับรังสีดวงอาทิตย์ทำให้เกิดความร้อน เทอร์โมอิเล็กทริกโมดูลโดยทำการสังเคราะห์วัสดุเทอร์โมอิเล็กทริกและการประดิษฐ์เทอร์โมอิเล็กทริกมอดูลจากวัสดุ Bi2Te3 จำนวน 4 มอดูล ต่อผสมจำนวน 1 ชุด ระบายความร้อนด้วยแผ่นอลูมิเนียม และชั้นด้านล่างจะสัมผัสกับพื้นดินจะเป็นด้านที่อุณหภูมิต่ำจะทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าที่นำไปใช้งานได้ ทดสอบประสิทธิภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากความร้อนรังสีดวงอาทิตย์ของบล็อกปูพื้นเทอร์โมอิเล็กทริก และทดสอบตามมาตรฐาน มอก. 827-2531 : คอนกรีตบล็อกประสานปูพื้น ทดลองติดตั้งบล็อกปูพื้นเทอร์โมอิเล็กทริกที่คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร พบว่า บล็อกปูพื้นเทอร์โมอิเล็กทริกเป็นไปตาม มอก. 827-2531 : คอนกรีตบล็อกประสานปูพื้น และผลการทดสอบกำลังไฟฟ้าบล็อกปูพื้นเทอร์โมอิเล็กทริกสำหรับผลิตไฟฟ้า พบว่า มีค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 73.91 mV ที่ผลต่างอุณหภูมิ (different temperature) 6.2 °C โดยวัดจากผิวสัมผัสของบล็อกปูพื้นเทอร์โมอิเล็กทริก มีค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 88.25 mV ที่ค่า Solar radiation เท่ากับ 1124.5 W m-2 ซึ่งกำลังไฟฟ้าของบล็อกปูพื้นเทอร์โมอิเล็กทริกสำหรับผลิตไฟฟ้าจะมีค่าแปรผันตรงกับค่า Solar radiation การนำบล็อกปูพื้นเทอร์โมอิเล็กทริกสำหรับผลิตไฟฟ้าไปประยุกต์และเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกในทางวิศวกรรมควรมีการออกแบบและพัฒนาบล็อกปูพื้นเทอร์โมอิเล็กทริกสำหรับผลิตไฟฟ้าให้ได้กำลังไฟฟ้ามากขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นด้วยการต่ออนุกรมหรือขนาน

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีเครื่องกลและเทคโนโลยีการผลิต(แขนงเทคโนโลยีเครื่องกล)
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
พลังงานทดแทน
บล็อกปูพื้น, เทอร์โมอิเล็กทริก, พลังงานไฟฟ้า, บล็อกปูพื้นเทอร์โมอิเล็กทริก

เจ้าของผลงาน
สาคร อินทะชัย
กิตติวัฒน์ จีบแก้ว, ครรชิต สิงห์สุช

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
สาคร อินทะชัย ,กิตติวัฒน์ จีบแก้ว เเละ ครรชิต สิงห์สุช . (2562). การสร้างบล็อกปูพื้นเทอร์โมอิเล็กทริกสำหรับผลิตไฟฟ้า. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.