งานวิจัย ผลของปุ๋ยหมักกากครามต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของคะน้า


ผลของปุ๋ยหมักกากครามต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของคะน้า

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยหมักกากครามต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ คะน้า โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 4 กรรมวิธี ๆ ละ 4 ซ้ำ ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 คือ ไม่ใส่ปุ๋ย (ควบคุม) กรรมวิธีที่ 2 คือ กากคราม กรรมวิธีที่ 3 คือ ปุ๋ยหมักกากคราม และ กรรมวิธีที่ 4 คือ ปุ๋ยคอก (มูลโค) ดำเนินการวิจัย ณ แปลงปฏิบัติการพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร ระหว่างเดือน ธันวาคม 2558 ถึง มีนาคม 2559 ผลการศึกษาพบว่า คะน้าที่ใส่ปุ๋ยหมักกากครามส่งผลให้คะน้ามีการเจริญเติบโตและผลผลิตดีที่สุด โดย คะน้ามี ความสูงมากที่สุด เท่ากับ 35.19 เซนติเมตร และขนาดความกว้างทรงพุ่ม เท่ากับ 28.92 เซนติเมตร และจำนวนใบ เท่ากับ 7.15 ใบ รวมทั้งน้ำหนักสดและนำหนักแห้งมากที่สุด คือ 118.49 กรัม ต่อต้น และ 9.56 กรัมต่อต้น (2,859.25 กิโลกรัมต่อไร่ ) รองลงมาคือ ปุ๋ยคอก กากคราม และไม่ใส่ปุ๋ย (ควบคุม) โดยมีน้ำหนักสดเท่ากับ 70.16, 68.52 และ 52.80 กรัมต่อต้น ตามลำดับ และมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99 %

ทุนวิจัยงบรายได้
เทคโนโลยีการเกษตร
พืชศาสตร์
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
คราม
ปุ๋ยหมัก, คราม, กากคราม

เจ้าของผลงาน
ครองใจ โสมรักษ์
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ครองใจ โสมรักษ์ . (2559). ผลของปุ๋ยหมักกากครามต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของคะน้า. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ครองใจ โสมรักษ์. (2017). ผลของปุ๋ยหมักกากครามต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของคะน้า. Prawarun Agr. J.(14(2)) , 165-172.