งานวิจัย การวิเคราะห์สารอาร์บูตินในสารสกัดจากเม่า


การวิเคราะห์สารอาร์บูตินในสารสกัดจากเม่า

วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานวิจัยเรื่องนี้เพื่อต้องการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและปริมาณของสารอาร์บูตินในส่วนต่างๆของพืชเม่า คือ ผลเม่าเขียว ผลเม่าแดง ผลเม่าดำ ใบเม่าอ่อน และใบเม่าแก่ ด้วยทินเลเยอร์โครมาโทกราฟี และหาปริมาณด้วยโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง พบว่ามีสารอาร์บูตินอยู่ในส่วนของใบเม่าแก่มากที่สุด ปริมาณ 10.6 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัมน้ำหนักวัตถุดิบ จากนั้นจึงทำการสกัดสารอาร์บูตินจากใบเม่าแก่อีกครั้ง ด้วยวิธีเฟสของแข็งและพรีพาราทีฟทินเลเยอร์โครมาโทกราฟีเพื่อทำให้สารบริสุทธิ์มากขึ้นเพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์ด้วยโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงและแมสสเปกโทรเมตรี และทำการวิเคราะห์ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ผลจากการวิเคราะห์สามารถยืนยันสารสกัดจากใบเม่าแก่มีสารอาร์บูตินอยู่ และสารสกัดหยาบจากใบเม่าแก่ให้ผลการวิเคราะห์ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสที่ร้อยละท50 (IC50 = 7.703) ดีกว่าสารมาตรฐานอาร์บูติน (IC50 = 14.0119)

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
การแพทย์และสาธารณสุข
อาร์บูติน (Arbutin) เม่า (AntidesmathwaitesianumMuellArg) ไทโรซิเนส (Tyrosinase)

เจ้าของผลงาน
ธงจุฑา สุวรรณประเสริฐ
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ธงจุฑา สุวรรณประเสริฐ . (2558). การวิเคราะห์สารอาร์บูตินในสารสกัดจากเม่า. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.