งานวิจัย ความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากสารสกัดหยาบเม่าหลวงเพื่อใช้ผลิตน้ำยาบ้วนปากยับยั้งแบคทีเรียสกุล Streptococcus ในช่องปาก


ความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากสารสกัดหยาบเม่าหลวงเพื่อใช้ผลิตน้ำยาบ้วนปากยับยั้งแบคทีเรียสกุล Streptococcus ในช่องปาก

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากสารสกัดหยาบเม่าหลวงเพื่อใช้ผลิตน้ำยาบ้วนปากยับยั้งแบคทีเรียสกุล Streptococcus ในช่องปาก โดยนำผลเม่าหลวงมาสกัดอย่างหยาบด้วยเอทานอล ก่อนนำมาทดสอบกิจกรรมการต้านแบคทีเรียสกุล Streptococcus ที่คัดแยกได้จากตัวอย่างน้ำลายและคราบฟันของอาสาสมัครจำนวน 10 คน (คละเพศและมีอายุอยู่ในช่วง 20-30 ปี) ในอาหารเลี้ยงเชื้อ BHI ทำให้แยกโคโลนีที่มีลักษณะแตกต่างกัน ได้ทั้งหมด 33 ไอโซเลท เมื่อพิจารณาเลือกไอโซเลทที่มีลักษณะคล้ายคลึงหรือสัมพันธ์กับ Streptococcus พบว่ามีเพียง 18 ไอโซเลท คือ 54A1, 54A5, 54A6, 54A8, 54E2, 54E3, 54E4, 54E5, 54E6, 54E7, 54F1, 54F2, 54F3, 54F4, 54F5, 54F6, 54F7 และ 54F8 ที่ย้อมติดสีแกรมบวก มีรูปร่างกลม และให้ผลทดสอบการสร้างเอนไซม์คะตะเลสเป็นลบ มาทดสอบความสามารถในการย่อยสลายเซลล์เม็ดเลือดแดงและระบุชนิดของเชื้อบริสุทธิ์ทั้งหมดด้วยชุดตรวจสอบ API 20 STREP (bioMerieux) ทำให้สามารถระบุชนิดของเชื้อได้ทั้งหมด 10 ชนิด โดยในจำนวนทั้งหมดนี้ พบว่ามีเพียง 6 ไอโซเลทเท่านั้น ที่มีผลการระบุชนิดเป็นแบคทีเรียอยู่ในสกุล Streptococcus จำนวน 4 สายพันธุ์คือ (1) S. constellatus จำนวน 2 ไอโซเลท คือ 54E2 54F6, (2) S. equinus จำนวน 2 ไอโซเลท คือ 54E3 54F8, (3) S. salivarius จำนวน 1 ไอโซเลท คือ 54E5 และ (4) S. mitis1 จำนวน 1 ไอโซเลท คือ 54F3

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชีววิทยา
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
การแพทย์และสาธารณสุข
เม่า, แบคทีเรียสกุล Streptococcus , น้ำยาบ้วนปาก

เจ้าของผลงาน
แก้วกัลยา โสตถิสวัสดิ์
นำพร อินสิน

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
แก้วกัลยา โสตถิสวัสดิ์ เเละ นำพร อินสิน . (2555). ความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากสารสกัดหยาบเม่าหลวงเพื่อใช้ผลิตน้ำยาบ้วนปากยับยั้งแบคทีเรียสกุล Streptococcus ในช่องปาก. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.