งานวิจัย การศึกษารูปแบบการผลิตข้าวอินทรีย์กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาบ่อ ตาบลปลาโหล อาเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร


การศึกษารูปแบบการผลิตข้าวอินทรีย์กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาบ่อ ตาบลปลาโหล อาเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

การศึกษารูปแบบการผลิตข้าวอินทรีย์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาบ่อ ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการเพิ่มผลผลิตของข้าวหอมมะลิ 105 โดยใช้ปุ๋ยหมักโบกาฉิ วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อก (RCBD) 3 กรรมวิธี 3 บล็อก กรรมวิธีที่1 ใส่ปุ๋ยหมักโบกาฉิ อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยหมัก โบกาฉิ อัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ และกรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยหมักโบกาฉิ อัตรา 400 กิโลกรัมต่อไร่ ทำการทดลองในพื้นที่แปลงนาของเกษตรกร 3 ราย และเพื่อศึกษาระยะการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของข้าวหอมมะลิ 105 โดยการสังเกตสีของเมล็ดที่แก่ วัดความชื้นของเมล็ดหลังการเก็บเกี่ยว และความชื้นของเมล็ดหลังการตากเมล็ด โดยวิธีการอบแห้ง (Hot air oven method) ที่อุณหภูมิ 103 องศาเซลเซียส 12 ชั่วโมง วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (CRD) 3 กรรมวิธี 3 ซ้ำ กรรมวิธีที่ 1 ตากแดด 2 แดด กรรมวิธีที่ 2 ตาก 3 แดด และกรรมวิธีที่ 3 ตาก 4 แดด ในห้องปฏิบัติการพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ผลการทดลองพบว่า รูปแบบการเพิ่มผลผลิตของข้าวหอมมะลิ 105 กรรมวิธีที่ 3 (400 กิโลกรัมต่อไร่) ให้ผลผลิตข้าวสูงสุด 384.24 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือกรรมวิธีที่ 2 (300 กิโลกรัมต่อไร่) ให้ผลผลิตข้าว 356.36 กิโลกรัมต่อไร่ และกรรมวิธีที่ 1 ( 200 กิโลกรัมต่อไร่) ให้ผลผลิตข้าว 354.16 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ยหมักโบกาฉิในอัตรา 400 กิโลกรัมต่อไร่มีแนวโน้มให้ผลผลิตข้าวสูงขึ้น ระยะการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมเพื่อการแปรรูป คือ ระยะพลับพลึง เมล็ดข้าวมีสีเขียวอมเหลือง มีความชื้นในเมล็ดข้าว 25.09-26.08 เปอร์เซ็นต์ การตากเมล็ดข้าวหลังการนวด 2 แดด จะมีความชื้นในเมล็ด 13.68-13.79 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดสีเหลืองทอง การตากเมล็ดข้าว 3 แดดจะมีความชื้นในเมล็ดข้าว 12.72-12-97 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดข้าวสีเหลืองทอง การตากเมล็ดข้าว 4 แดดจะมีความชื้นในเมล็ดข้าว 12.65-12-95 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดข้าวสีเหลืองทอง ดังนั้นก่อนการเก็บรักษาเมล็ดข้าวเปลือกจึงควรตากแดด 2-4 แดด เพื่อลดความชื้นในเมล็ดให้ต่ำลง จะทำให้เก็บรักษาได้นาน

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
เทคโนโลยีการเกษตร
พืชศาสตร์
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
ข้าว
ข้าวอินทรีย์(organic rice) รูปแบบ(model) การเก็บเกี่ยว(harvesting)

เจ้าของผลงาน
สุรชาติ เทียนกล่ำ
อังคณา เทียนกล่ำ,พิจิกา ทิมสุกใส

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
สุรชาติ เทียนกล่ำ ,อังคณา เทียนกล่ำ เเละ พิจิกา ทิมสุกใส . (2554). การศึกษารูปแบบการผลิตข้าวอินทรีย์กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาบ่อ ตาบลปลาโหล อาเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.