งานวิจัย การตรวจวัดปริมาณออกซาเลตและแคลเซียมในผักพื้นบ้านด้วยวิธีอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรสโกปี


การตรวจวัดปริมาณออกซาเลตและแคลเซียมในผักพื้นบ้านด้วยวิธีอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรสโกปี

การวิจัยตรวจวัดปริมาณแคลเซียมและออกซาเลตในผักพื้นบ้าน มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิธี วิเคราะห์ที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ปริมาณแคลเซียมและออกซาเลตในผักพื้นบ้าน ด้วยเทคนิคอะตอมมิก แอบซอร์พชันสเปกโทรสโกป์ และหาความสัมพันธ์ปริมาณของแคลเซียมและออกซาเลตในผักพื้นบ้านใน เขตจังหวัดสกลนคร ด้วยการสุ่มเก็บพืชตัวอย่างจำนวน 31 ชนิด นำส่วนที่ใช้บริโภคมาย่อยด้วยกรดแล้ว นำไปวิเคราะห์หาปริมาณแคลเซียมและออกซาเลตพบว่า การหาปริมาณแคลเซียมเมื่อเติมสารละลาย La2O3 เข้มข้น 1% w/v ลงในผักตัวอย่างจะ ให้ผลการวิเคราะห์หาปริมาณแคลเซียมเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 26.32 % ปริมาณของแคลเซียมในผักพื้นบ้านมีปริมาณที่ แตกต่างกัน กลุ่มผักที่มีปริมาณมากคือ ผักชีลาว (Anethumgraveolens Linn.) 890.71 ผักก้านตรง (ColubrinaasiaticaBrongn.) 878.66, ผักโขม (AmaranthusLividus Linn.) 841.11, ผักหวานบ้าน (SauropusandrogynusMerr) 832.21, สะระแหน่ (MethacordifoliaOpiz.) 801.38 mg/100 g กลุ่มผักที่มีปริมาณปาน กลางคือ ยอดบวบ (Luffa cylindrical Linn. M.J Roem) 477.47, หวาย (Calamussiamensis) 469.37, มะระ ขี้นก (Momordicacharantia L.) 445.85, ผักขี้ขม (Glinusoppositifolius (L.) A.DC.) 321.74, ผักก้านย่า (Caesalpiniamimosoides Lam.) 289.33, สะแงง (LimophilaaromaticaLamkMerr.) 281.25, ผักทูน (Colocasiagigantea Hook. F.) 272.73 mg/100 g และกลุ่มผักที่มีปริมาณต่ำคือ โหระพา (Ocimumbasilicum Linn.) 91.31, ผักหวานป่า (Melienthasuavis Pierre) 83.56, ดอกแค (SesbaniagrandifloraDesv) 82.98, บอนหวาน (Colocasiaesculenta Schott) 79.47, สายบัวแดง (Nymphae lotus L.) 53 mg/ 100 g ปริมาณของออกซาเลตในผักพื้นบ้านมีปริมาณที่แตกต่างกัน กลุ่มผักที่มีปริมาณมากคือ ผัก ติ้ว (Gratoxylumformosum(Jack) Dyer ssp.pruniflorum(Kurz.) Gogelin) 1040.73, สะระแหน่ (MethacordifoliaOpiz.) 866.31, ผักแพรว (Polygonumodoratum) 698.83, ผักขี้ขม (Glinusoppositifolius L. A.DC.) 611.04, สะแงง (LimophilaaromaticaLamkMerr.) 558.48 mg/100 g กลุ่มผักที่มีปริมาณปาน กลางคือ ดอกแค (SesbaniagrandifloraDesv) 306.10, มะระขี้นก (Momordicacharantia L.) 294.55 , ผักปลัง (Basellarubra Linn.) 280.69, ตําลึงทอง (Coccinia sp.) 274.33, ผักโขม (AmaranthusLividus Linn.) 243.15 mg/ 100 g กลุ่มผักที่มีปริมาณต่ําคือ ผักหนาม (LasiaspinosaThw.) 91.83, โหระพา (Ocimumbasilicum Linn.) 81.43, ผักก้านตรง (ColubrinaasiaticaBrongn.) 74.50, ผักขี้เหล็ก (Cassia siamea Britt.) 71.04, แมงลัก (ApiaceaeLabiatae) 62.95, ผักกระโดน (CareyaSphaericaRoxb) 58.91, สายบัวแดง (Nymphae lotus L.) 57.18, ชะอม (AcaciaPennata(L.)Willd.Subsp. InsuavisNielsen) 46.78, ผักหวานบ้าน (SauropusandrogynusMerr) 34.08 , ผักทูน (Colocasiagigantea Hook. F.) 31.76 ,บอนหวาน (Colocasiaesculenta Schott) ND, ตําลึง (Cocciniagrandis Voigt) ND, ผักหวานป่า (Melienthasuavis Pierre) ND, ผัก ก้านย่า (Caesalpiniamimosoides Lam.) ND, ผักชีลาว (Anethumgraveolens Linn.) ND, หวาย (Calamussiamensis) ND ,สะเดา (AzadirachtaindicaJuss. Var.)ND ,ยอดบวบ (Luffa cylindrical Linn. M.J Roem) ND, ผักแว่น (MarsileacrenataPresl.) ND mg/100 g ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณแคลเซียมกับออกซาเลตในผักพื้นบ้านตัวอย่างจำนวน 31 ชนิด นำมาหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ได้เท่ากับ r เท่ากับ -0.022 โดยมีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ ระดับ 0.01 การหาค่าร้อยละกลับคืนของการวิเคราะห์หาแคลเซียมและออกซาเลตในผักพื้นบ้านได้ค่าอยู่ ในช่วงร้อยละ 86.25 ถึง 107.03 และ 88.10 ถึง 106.94 ตามลำดับ ค่าขีดจำกัดของการตรวจวัด ( LOD ) ได้ ค่าเท่ากับ 0.3252 ppm และค่าขีดกำจัดของการตรวจวัดปริมาณ ( LOQ ) เท่ากับ 0.4106 ppm

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบนิเวศ
1 กรดออกซาลิก (Oxalic acid) 2 ออกซาเลต (Oxalate)3 แคลเซียม4 อะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรสโกปี (Atomic Absorption Spectroscopy)

เจ้าของผลงาน
นิยม ชลิตะนาวิน
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
นิยม ชลิตะนาวิน . (2557). การตรวจวัดปริมาณออกซาเลตและแคลเซียมในผักพื้นบ้านด้วยวิธีอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรสโกปี. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.