งานวิจัย ผลกระทบของการบังคับใช้กฎหมายต่อคุณภาพน้ำในพื้นที่ทะเลสาบหนองหารและบริเวณโดยรอบกรณีศึกษาบ้านท่าศาลาตำบลบ้านแป้นอำเภอโพนนาแก้วจังหวัดสกลนคร


ผลกระทบของการบังคับใช้กฎหมายต่อคุณภาพน้ำในพื้นที่ทะเลสาบหนองหารและบริเวณโดยรอบกรณีศึกษาบ้านท่าศาลาตำบลบ้านแป้นอำเภอโพนนาแก้วจังหวัดสกลนคร

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคุณภาพน้ำในพื้นที่ทะเลสาบหนอง หารในบริบทของชุมชนที่อาศัยรอบพื้นที่หนองหาร กรณีศึกษาบ้านท่าศาลา ตำบล บ้านแป้น อำเภอ โพน นาแก้ว จังหวัดสกลนคร ว่ามีความสอดคล้องตรงกับเจตนารมณ์ของกฎหมายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขต หวงห้ามที่ดินในท้องที่อำเภอเมืองสกลนคร พ.ศ. 2484 ที่มีผลบังคับให้พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่หวงห้ามไม่ให้ ครอบครองทำให้ชุมชนที่อาศัยอยู่มาก่อนที่กฎหมายบังคับใช้ไม่สามารถถือครองในที่ดินทำกินของตนได้ กลายเป็นผู้ที่บุกรุกที่สาธารณะประโยชน์ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีการดำเนินการให้ภาครัฐเข้ามาแก้ไข แต่ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้จบลงไปแต่อย่างใด กลับเกิดกรณีพิพาทดอนสวรรค์ขึ้น โดยมีการดำเนินการเพื่ออกโฉนดบนพื้นที่เกาะดอนสวรรค์ซึ่งเป็นเกาะกลางทะเลสาบหนองหารอันเป็นพื้น สาธารณะประโยชน์จากการตีความของกฤษฎีกา และอยู่ภายใต้กฎหมายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวง ห้ามที่ดินในท้องที่อำเภอเมืองสกลนคร พ.ศ. 2484 จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายอย่างชัดแจ้ง ทั้งนี้ เจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวเพื่อการอนุรักษ์ และบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำจึงต้องศึกษาถึงการดำรงอยู่ของ ชุมชนว่าเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายแท้จริงหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่า การตั้งอยู่ของชุมชนบ้านท่าศาลา ตำบล บ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนครที่มีมาก่อนที่กฎหมายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่อำเภอเมือง สกลนคร พ.ศ. 2484 ประกาศใช้บังคับ จนถึงปัจจุบันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการอนุรักษ์ และบำรุงพันธ์ุสัตว์ น้ำตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแต่อย่างใด จากผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์พบว่าแหล่งน้ำบริเวณชุมชน บ้านท่าศาลานั้นอยู่ในเกณฑ์มาตราฐนของกรมประมงที่เหมาะสำหรับสัตว์น้ำอยู่อาศัยได้ ดังนี้แสดงให้เห็น ว่า กฎหมายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่อำเภอเมืองสกลนคร พ.ศ. 2484 ไม่มีความ เป็นพลวัตรกับชุมชน กล่าวคือ กฎหมายมีความล้าหลังไม่พัฒนาไปตามบริบทของสังคม เพราะเมื่อเปรียบ เทียบกับแหล่งน้ำในบริเวณพื้นที่ที่อยู่บริเวณโดยรอบหนองหารแต่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับ เดียวกัน พบว่าคุณภาพแหล่งน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเช่นเดียวกัน เช่นนี้เป็นการเลือกปฏิบัติสองมาตรา ฐานขัดต่อหลักความเท่าเทียมกัน และ สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ ตลอดจนขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่แท้จริง จึงควรมีการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริงเพื่อไม่ให้กฎหมายนำมาซึ่งความเดือดร้อนของประชาชน

ทุนวิจัยงบรายได้
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
นิติศาสตร์
สาขานิติศาสตร์
มนุษยศาสตร์
สิ่งแวดล้อม, ความหลากหลายทางชีวภาพ, ระบบนิเวศ

เจ้าของผลงาน
ดนัยณัฐ จิระวัฒนาสมกุล
ณัฐพร ภูมิภักดิ์

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ดนัยณัฐ จิระวัฒนาสมกุล เเละ ณัฐพร ภูมิภักดิ์ . (2558). ผลกระทบของการบังคับใช้กฎหมายต่อคุณภาพน้ำในพื้นที่ทะเลสาบหนองหารและบริเวณโดยรอบกรณีศึกษาบ้านท่าศาลาตำบลบ้านแป้นอำเภอโพนนาแก้วจังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.